วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสาขาความมั่นคงของชาติ บันเทิง และเทคโนโลบีของแนวโน้มโลก

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสาขาความมั่นคงของชาติ
ด้านกฎหมายและการปกครอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสรุปคดีทุกคดีว่าใครฟ้องใคร เรื่องอะไร ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ตัดสินว่าอย่างไร เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยงานได้หลายอย่าง เช่น ต้องการทราบว่ารัฐธรรมนูญฉบับไหนเหมือนหรือแตกต่างกับฉบับไหนมากน้อยเท่าใด ก็ให้คอมพิวเตอร์ค้นหา และวิเคราะห์เปรียบเทียบพิมพ์ลงได้ หรือต้องการทราบว่าคดีแบบไหนเคยมีฟ้องร้องแล้วศาลตัดสินอย่างไร ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหาให้ก็จะได้คำตอบภายในเวลาไม่กี่นาที
ด้านรัฐสภา เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุน และการดำเนินบทบาทด้านการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นอย่างมากต่องานรัฐสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านนิติบัญญัติ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาได้มีการปรับปรุงระบบงานใหม่ พร้อมดึงเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกิจการงานสภา ศึกษาวิเคราะห์ระบบงานรัฐสภาทั้งหมดและจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ ขึ้นมากำกับดูแลงานด้านคอมพิวเตอร์ พร้อมพัฒนาฐานข้อมูลรัฐสภาขึ้นระหว่างปีพ.ศ. 2535-2540
ด้านการทหารและกองบัญชาการทหารสูงสุด การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการทหารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ด้านการสื่อสาร และภูมิศาสตร์
  • มีการนำดาวเทียมทหารมาใช้เพื่อกิจการด้านความมั่นคงทางทหาร เพราะสามารถส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นความลับเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะด้านการทหารซึ่งไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้
  • การถ่ายภาพภูมิศาสตร์ จำลองลักษณะภูมิศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อความสะดวก ในการจัดทำยุทธภูมิและการวางแผนป้องกันประเทศ
ด้านอาวุธ และอุปกรณ์การรักษาความมั่นคงของประเทศ
  • ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการประดิษฐ์อาวุธที่ทันสมัย สามารถกำหนดพิกัดการยิงโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทาง และวิถีการตกของระเบิดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
  • ทางด้านการทหารได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับเครื่องตรวจจับ อาวุธสงคราม รวมถึงเครื่องบินที่รุกล้ำเข้ามาใน เขตน่านฟ้าของประเทศไทย
  • มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลด้านความปลอดภัย เกี่ยวกับข้อมูลผู้ไม่ประสงค์ดี มาสร้างเป็น แบบจำลองการป้องกันประเทศ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสาขาบันเทิง
ยุคของสังคมสารสนเทศที่มีลักษณะการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงทำให้เกิด อีซีนีม่า (E-cinema) กิจกรรมต่างๆ สำหรับสมาชิกที่เข้ามาใช้ อีซีนีม่า คือ เปิดออนไลน์ บุ๊คกิ้งมีการเปิดให้จองตั๋วและเลือกที่นั่งทางเว็บไซต์ ลูกค้าสามารถจ่ายเงินในเว็บได้เลยโดยผ่านบัตรเครดิต ธุรกิจด้านอีซีนีม่านี้นับได้ว่ามีประโยชน์มหาศาล เพราะทางเจ้าของกิจการได้มีการบอกข่าวสารบางอย่างที่ลูกค้าไม่รู้ทุกอย่างรวมอยู่ในเว็บ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเชิงธุรกิจ ทั้งได้รับการตอบรับสูงจากลูกค้า ของการเปิดจองทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันบริการทั้งระบบโทรศัพท์และระบบออนไลน์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสาขาเทคโนโลบีของแนวโน้มโลก
จอห์น ไนซ์บิตต์ ผู้พยากรณ์สังคมได้เขียนหนังสือเรื่อง Megatrends 2000 โดยกล่าวถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงใหม่ทางสังคมโลก เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีลักษณะการกระจายแบบทุกทิศทาง และมีระบบตอบสนองอย่างรวดเร็ว และยังสื่อสารแบบสองทิศทาง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมจึงแตกต่างจากในอดีตมาก ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน แนวโน้มที่สำคัญที่เกิดจากเทคโนโลยีที่สำคัญและเป็นที่กล่าวถึงกันมาก มีหลายประการ
        เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ สภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้ง จากสังคมความเป็นอยู่แบบเร่ร่อนมาเป็นสังคมเกษตรที่รู้จักกับการเพาะปลูกและสร้างผลิตผลทางการเกษตรทำให้มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ต่อมามีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมากและต้นทุนถูก จึงต้องหันมาผลิตแบบอุตสาหกรรม ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงมาเป็นสังคมเมือง มีการรวมกลุ่มอยู่อาศัยเป็นเมือง มีอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิต สังคมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน และกำลังจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทมากขึ้น มีการใช้เครือข่าย เช่นอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่าง ๆ การดำเนินธุรกิจใช้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง เกิดคำใหม่ว่า ไซเบอร์สเปซ มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในไซเบอร์สเปซ เช่น การพูดคุย การซื้อสินค้าและบริการ การทำงานผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เสมือนจริงมากมาย เช่นห้องสมุดเสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ที่ทำงานเสมือนจริง ฯลฯ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสาขาการสื่อสารโทรคมนาคมและหน่วยงานราชการ

                              การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสาขาการสื่อสารโทรคมนาคม

การประยุกต์ใช้ในงานประเภทนี้ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคมที่น่าสนใจ ได้แก่เทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้
ดาวเทียม (Satellite) เป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น แล้วส่งไปโคจรรอบโลก รอบดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวฤกษ์ต่างๆ หรือเพื่อให้ท่องเที่ยวไปในอวกาศและจักรวาลตามวิถีที่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน ดาวเทียม จำแนกได้หลายประเภทซึ่งขึ้นกับลักษณะการใช้งานเช่น ดาวเทียมวิทยาศาสตร์ (Scientific Satellite) ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ดาวเทียมการทหาร (Military Satellite) แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ เช่น ดาวเทียมจารกรรม ดาวเทียมเตือนภัยล่วงหน้า ดาวเทียมต่อต้านจรวด และดาวเทียมจู่โจมหรือระดมยิง เป็นต้น ดาวเทียมนำทาง (Navigational Satellite) ดาวเทียมประเภทนี้ใช้ประโยชน์มากในเรือดำน้ำ การวางแผนเส้นทางเดินเรือและเส้นทางการบิน ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรบนผิวโลกและในมหาสมุทร (Earth and Ocean Resources Satellite) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ศึกษาธรณีวิทยา พืชพรรณ ตลอดจนมหาสมุทร และดาวเทียมโทรคมนาคม (Telecommunication Satellite) ใช้ในกิจการการสื่อสารในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ


                     การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่างๆ

สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Technology Services - GITS) ลักษณะงานของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ จะให้บริการเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network) เพื่อตอบสนองการบริหารงานสำหรับหน่วยงานของภาครัฐอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน อันนำไปสู่การเป็น E-government และเป็นศูนย์กลางส่งเสริมให้เกิดระบบการเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างภาครัฐและประชาชน
สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation - OA) สำนักงานอัตโนมัติที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นมีชื่อว่า IT Model Office เป็นโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายพื้นฐานของภาครัฐ ในรูปของสำนักงานอัตโนมัติ เช่น งานสารบรรณ งานจัดทำเอกสารและจัดส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ งานแฟ้มเอกสาร งานบันทึกการนัดหมายผู้บริหาร ซึ่งระบบงานที่สำคัญมีดังนี้คือ
  • ระบบนำเสนอข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้บริหาร
  • ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัย ได้มีการนำเทคโนโลยีลายเซ็นต์ดิจิทัล (Digital signature) เข้ามาช่วยในการยืนยันผู้ส่งและยืนยันความแท้จริงของอีเมล
อินเทอร์เน็ตตำบล เป็นการวางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ตำบลต่างๆ ทั่วประเทศสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านต่างๆ เช่น หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่างๆ สามารถมีส่วนร่วมในการจัดทำและใช้ประโยชน์จากระบบอินเทอร์เน็ตตำบล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่อยู่ ณ ตำบลและใกล้ชิดกับประชาชน ก็จะมีความสำคัญและความรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูล รวมทั้งให้บริการแก่กลุ่มชนต่างๆ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสรรพกร เนื่องจากกรมสรรพากรทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งรายได้ของรัฐบาล รายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดเก็บ ข้อมูลและประวัติของผู้เสียภาษีอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อทำ Macro Model หรือแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ให้กับประเทศอีกด้วย ปัจจุบันกรมสรรพกรได้จัดทำโครงการ E-revenue ซึ่งเป็นบริการเสียภาษีออนไลน์ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ด้านการพาณิชย์ มีบริการโปรแกรมประการยื่นแบบ บริการแบบพิมพ์ บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งอำนวยความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้นต่อประชาชนผู้ใช้บริการ






การประยุกต์ใช้เทคโนโลยสารสนเทศสาขาอุตสาหกรรมการผลิต การแพทย์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยสารสนเทศสาขาอุตสาหกรรมการผลิต
โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System-MIS) เข้ามาช่วยจัดการงานด้านการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมประเภทนี้ ใช้ระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับ วิดีโอเท็กซ์ วัสดุย่อส่วน และเทเลเท็กซ์ได้ รวมทั้งการพิมพ์ภาพโดยใช้เทอร์มินัลนำเสนอภาพ (Visual Display Terminal) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ มีการใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบรถยนต์ ปฏิบัติการการผลิต (เช่น การพ่นสี การเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ฯลฯ) การขับเคลื่อน การบริการ และการขาย รวมทั้งออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานในโรงงานได้ในรูปแบบหุ่นยนต์
ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์         
เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ 
   - ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
   - การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
   - สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
   - เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
   - เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
   - ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสาขาการศึกษา ธุรกิจพาณิชย์และสำนักงาน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสาขาการศึกษา

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา       เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

   - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ

   - การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น

   - อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

   - วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
 
   - ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

    - การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
 
   - อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก 

                                              การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสาขาธุรกิจพาณิชย์และสำนักงาน







E-commerce: Electronic Commerce
E-commerce หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรรมในเชิงธุรกิจทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมทั้งการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งสินค้า การชำระเงิน และการบริการด้านข้อมูล เป็นต้น E-commerce นั้นสามารถให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และไม่จำกัดขอบเขตของผู้ใช้บริการและระยะเวลาทำการของหน่วยงาน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือหลัก ในการปฏิบัติงานและติดต่อสื่อสารข้อมูล ใน E-commerce สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเรา ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อเคเบิลทีวี เครื่องโทรสาร โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่อง ATM ระบบการชำระเงินและโอนเงินอัตโนมัติ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
E-business
E-business เป็นธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่า E-commerce เนื่องจากเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ มิได้พิจารณาเพียงเฉพาะกิจกรรมการซื้อ-ขายเท่านั้น เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ และปรับปรุงธุรกิจให้มีความเป็นระบบ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจด้วยการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นรูปแบบ Online และครอบคลุมได้ทั่วโลก
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI)
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับ - ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย เช่น โทรศัพท์ สายเคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น แทนการส่งเอกสารโดยพนักงานส่งสารหรือไปรษณีย์ ระบบ EDI จะต้องใช้รูปแบบของเอกสารที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานทางธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้ระบบ EDI
  • ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งเอกสาร
  • ลดเวลาทำงานในการป้อนข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน
  • เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
  • ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านเอกสาร
  • แก้ปัญหาอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และเวลา
ระบบสำนักงานอัตโนมัต
ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานบังเกิดผลในด้านบวก อาทิ ความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เทเลเท็กซ์ เครื่องเขียนตามคำบอกอัตโนมัติ (Dictating Machines) เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เครื่องโทรสาร ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในระบบสำนักงาน จึงเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งเทคโนโลยีดังที่กล่าวมานำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเตรียมเอกสาร งานกระจายเอกสาร งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เป็นต้น


วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

เว็บไซต์ค้นหาที่ได้รับความนิยมและการใช้ Search Engines

http://www.yahoo.com/
http://www.altavista.com/
http://www.excite.com/
http://www.hot.lycos.com/
http://www.go.com/dynamic/Portal
http://www.lycos.com/
http://www.looksmart.com/
http://www.webcrawler.com/
http://www.dogpile.com/
http://www.askgeeves.com/
http://www.profusion.com/
http://www.siamguru.com/
http://www.google.com/

การใช้ Search Engines
เครื่องมือในการค้นหาว็บไซต์ ทำหน้าที่ในการให้บริการค้นหาข้อมูล (Search Engine) โดยเน้นเรื่องความสามารถในการค้นหาข้อมูลภาษาไทยบนอินเทอร์เน็ต  มีความสามารถเทียบเท่าเสิร์ชเอ็นจิ้นชื่อดังจากต่างประเทศ  โดยการค้นหาจะเป็นแบบค้นหาข้อมูลจากทุกคำของข้อมูลจริง (Full Text Search) ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษจากเว็บเพจจำนวนหลายแสนหน้า  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาจัดทำดัชนี (index) โดยอัตโนมัติ ผสมกับการจัดแยกหมวดหมู่อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วมากที่สุด
            เว็บไซต์ www.siamguru.com แบ่งการค้นหาเป็น 4 รูปแบบคือ
 http://www.yupparaj.ac.th/CAI/search/search_05-1.html

เทคนิคและการใช้โปรแกรมบาวเซอร์ค้นหาข้อมูล

เทคนิค 8 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล


 ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนี
ไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อ ช่วยลดหรือจำกัดคำที่ค้น หาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด
1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่คุณจะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูล แบบ Index อย่างของ sanook เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่ม หาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine
   
 2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ) เช่น kanchanaburi+kemapat    

 3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใหล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า    

 4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีคำใน กลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "kemapat school" เป็นต้น    

 5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบ ไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่ เขียนไว้ก็ให้ใช้ตัว อักษรใหญ่แทน      

6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคื  - AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆ มาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น thailand and kanchanaburi เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น thailand and kanchanaburi not goft หมายความว่า ให้ทำการหา เว็บที่เกี่ยวข้องกับ thailand และ kanchanaburi แต่ต้องไม่มี goft เป็นต้น      

7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ   - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ  () ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (pentium+computer)cpu      

8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ





http://www.kemapat.ac.th/search8.htm




โปรแกรมเว็บบราวเซอร์

                 ข้อความและภาพที่อยู่ในเว็บเพจหนึ่ง ๆ ในเครื่องผู้ให้บริการ (Server) นั้นถูกนำมาแสดงผลได้อย่างสวยงามบนเครื่องผู้ใช้โดยการใช้โปรแกรมเรียกว่า เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) หรือบราวเซอร์ โปรแกรมบราวเซอร์แบบแรกได้พัฒนาขึ้นมาที่ศูนย์ National Center for Supercomputing Applications (NCSA) ณ มหาวิทยาลัยแห่งอิลินอยส์ (ที่เออร์บานา-แคมเปณญ์) ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกชื่อว่า โมซาอิก (Mosaic) โปรแกรมนี้มีส่วนติดต่อผู้ใช้เป็นแบบกราฟิก (Graphic User Interface) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ทั้งที่มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์เพียงเล็กน้อยและ ผู้เชี่ยวชาญสามารถใช้งานได้ง่าย (สัลยุทธ์ สว่างวรรณ, 2544, 48)
                              หลังจากนั้นไม่นานโปรแกรมบราวเซอร์ตัวใหม่ ๆ ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องพร้อมกับจำนวนผู้ใช้ที่ทวีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น โปรแกรมเน็ตเคป (Netscape Navigator and Netscape Communicator) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูเว็บเพจได้ง่ายใช้รับ-ส่งอีเมลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ติดต่อกระดานข่าว (Newsboard) การสำเนาแฟ้มข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการสร้างเว็บเพจส่วนตัวขึ้นมาใช้งานเองโดยใช้ภาษา HTML
                              โปรแกรมบราวเซอร์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ ไออี หรืออินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer, IE) ซึ่งมีขีดความสามารถในระดับเดียวกันกับโปรแกรมเน็ตเคป การแข่งขันของทั้งสองบริษัทช่วยให้ผู้ใช้มีทางเลือกในการใช้งานและทำให้ราคาถูกลง นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมบราวเซอร์จากบริษัทอื่นเข้ามาแข่งขันด้วย เช่น โปรแกรมจากบริษัท Yahoo และ Lycos เป็นต้น
                              โปรแกรมบราวเซอร์ใช้ในการแสดงความสามารถขั้นพื้นฐานของเว็บเพจ หากผู้ใช้ต้องการความสามารถอื่นที่พิเศษไปจากธรรมดาก็จะต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเข้าไปกับบราวเซอร์ที่มีการใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งเรียกส่วนเพิ่มเติมนี้ว่า ปลั๊กอิน (Plug-in) เช่น การแสดงภาพยนตร์ที่ใช้เวลาสั้นเรียกว่า “Video Clip” การแสดงภาพสามมิติ การแสดงภาพเสมือนจริง การใช้เสียงบรรยายหรือเพลงประกอบ เป็นต้น
                              เมื่อโปรแกรมบราวเซอร์เริ่มต้นทำงาน เว็บเพจแรกที่จะถูกนำขึ้นมาแสดงเรียกว่า โฮมเพจ (Home Page) ซึ่งหมายถึงเว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า Welcome Page โดยปกติข้อความและรูปภาพที่ปรากฏอยู่ในเว็บเพจนี้มักจะทำหน้าที่คล้ายสารบัญของหนังสือ ซึ่งจะบอกให้ทราบว่าภายในเว็บไซต์นั้นมีอะไรอยู่ข้างในบ้าง
                              โปรแกรมบราวเซอร์ค้นหาเว็บไซต์จากชื่อ ยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator; URL) ซึ่งเป็นการบอกที่อยู่ของแฟ้มข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตผ่านผู้ให้บริการบนเว็บ (World Wide Web) แฟ้มข้อมูลนี้อาจอยู่ในรูป HTML ภาพกราฟิก โปรแกรมที่เขียนด้วยวาจา หรือรูปแบบใด ๆ ที่สามารถทำงานร่วมกับโพรโทคอลเว็บเรียกว่า เอชทีทีพี (Hyper Text Transfer Protocol; HTTP) ได้



http://www.dcs.cmru.ac.th/lesson9_5.php

ความหมายและประเภทของเครื่องจักร

ความหมายและประเภทของเครื่องจักร



เครื่องจักร หมายถึง สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น สำหรับก่อกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปรสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ หรือพลังลม แก๊ส ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน และหมายความถึง เครื่องอุปกรณ์ ไฟลวีล ปุลเล่ สายพาน เพลา เกียร์ หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสัมพันธ์กันและรวมถึงเครื่องมือกลด้วย
จากคำนิยามของเครื่องจักรจะเห็นว่า ได้รวบรวมเอาคุณสมบัติ รูปลักษณ์ และลักษณะการทำงานหลายประเภทซึ่งจะเห็นได้จากการนำเข้าไปใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงงานปั๊มโลหะ โรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล โรงงานประกอบรถยนต์ เป็นต้น
เพื่อให้เห็นลักษณะการทำงานที่ชัดเจนของเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงาน สามารถจำแนกประเภทของเครื่องจักรออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
  1. เครื่องต้นกำลัง เป็นเครื่องจักรที่ใช้ผลิตหรือเปลี่ยนพลังงานรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า ใช้สำหรับเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องต้นกำลังอื่นๆ เช่น หม้อไอน้ำเครื่องยนต์เป็นต้น
  2. เครื่องส่งกำลัง คือ อุปกรณ์ที่ใช้ส่งผ่านกำลังจากเครื่องต้นกำลังไปใช้งานอื่นต่อไป เช่น เพลา สายพาน โซ่ เฟือง ท่อลมอัดต่างๆ เป็นต้น
  3. เครื่องจักรทำการผลิต เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตต่างๆ ประกอบด้วยเครื่องจักรที่แยกทำงานเฉพาะในแต่ละเครื่อง เช่น เครื่องเจาะ เครื่องอัด เครื่องตัด เครื่องกลึง เครื่องไส เป็นต้น และเครื่องจักรที่ออกแบบพิเศษเป็นลักษณะสายการผลิตที่ทำงานต่อเนื่อง เช่น เครื่องรีดโลหะ เครื่องผลิตท่อน้ำ เครื่องผลิตขวดแก้ว เครื่องผลิตภาชนะพลาสติก เครื่องบรรจุอาหาร เป็นต้น เครื่องจักรเหล่านี้ล้วนทำการผลิตต่างๆ จากวัตถุดิบหรือชิ้นงานให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์


http://www.thaieditorial.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80/