วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคนิคและการใช้โปรแกรมบาวเซอร์ค้นหาข้อมูล

เทคนิค 8 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล


 ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนี
ไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อ ช่วยลดหรือจำกัดคำที่ค้น หาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด
1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่คุณจะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูล แบบ Index อย่างของ sanook เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่ม หาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine
   
 2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ) เช่น kanchanaburi+kemapat    

 3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใหล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า    

 4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีคำใน กลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "kemapat school" เป็นต้น    

 5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบ ไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่ เขียนไว้ก็ให้ใช้ตัว อักษรใหญ่แทน      

6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคื  - AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆ มาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น thailand and kanchanaburi เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น thailand and kanchanaburi not goft หมายความว่า ให้ทำการหา เว็บที่เกี่ยวข้องกับ thailand และ kanchanaburi แต่ต้องไม่มี goft เป็นต้น      

7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ   - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ  () ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (pentium+computer)cpu      

8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ





http://www.kemapat.ac.th/search8.htm




โปรแกรมเว็บบราวเซอร์

                 ข้อความและภาพที่อยู่ในเว็บเพจหนึ่ง ๆ ในเครื่องผู้ให้บริการ (Server) นั้นถูกนำมาแสดงผลได้อย่างสวยงามบนเครื่องผู้ใช้โดยการใช้โปรแกรมเรียกว่า เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) หรือบราวเซอร์ โปรแกรมบราวเซอร์แบบแรกได้พัฒนาขึ้นมาที่ศูนย์ National Center for Supercomputing Applications (NCSA) ณ มหาวิทยาลัยแห่งอิลินอยส์ (ที่เออร์บานา-แคมเปณญ์) ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกชื่อว่า โมซาอิก (Mosaic) โปรแกรมนี้มีส่วนติดต่อผู้ใช้เป็นแบบกราฟิก (Graphic User Interface) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ทั้งที่มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์เพียงเล็กน้อยและ ผู้เชี่ยวชาญสามารถใช้งานได้ง่าย (สัลยุทธ์ สว่างวรรณ, 2544, 48)
                              หลังจากนั้นไม่นานโปรแกรมบราวเซอร์ตัวใหม่ ๆ ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องพร้อมกับจำนวนผู้ใช้ที่ทวีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น โปรแกรมเน็ตเคป (Netscape Navigator and Netscape Communicator) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูเว็บเพจได้ง่ายใช้รับ-ส่งอีเมลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ติดต่อกระดานข่าว (Newsboard) การสำเนาแฟ้มข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการสร้างเว็บเพจส่วนตัวขึ้นมาใช้งานเองโดยใช้ภาษา HTML
                              โปรแกรมบราวเซอร์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ ไออี หรืออินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer, IE) ซึ่งมีขีดความสามารถในระดับเดียวกันกับโปรแกรมเน็ตเคป การแข่งขันของทั้งสองบริษัทช่วยให้ผู้ใช้มีทางเลือกในการใช้งานและทำให้ราคาถูกลง นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมบราวเซอร์จากบริษัทอื่นเข้ามาแข่งขันด้วย เช่น โปรแกรมจากบริษัท Yahoo และ Lycos เป็นต้น
                              โปรแกรมบราวเซอร์ใช้ในการแสดงความสามารถขั้นพื้นฐานของเว็บเพจ หากผู้ใช้ต้องการความสามารถอื่นที่พิเศษไปจากธรรมดาก็จะต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเข้าไปกับบราวเซอร์ที่มีการใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งเรียกส่วนเพิ่มเติมนี้ว่า ปลั๊กอิน (Plug-in) เช่น การแสดงภาพยนตร์ที่ใช้เวลาสั้นเรียกว่า “Video Clip” การแสดงภาพสามมิติ การแสดงภาพเสมือนจริง การใช้เสียงบรรยายหรือเพลงประกอบ เป็นต้น
                              เมื่อโปรแกรมบราวเซอร์เริ่มต้นทำงาน เว็บเพจแรกที่จะถูกนำขึ้นมาแสดงเรียกว่า โฮมเพจ (Home Page) ซึ่งหมายถึงเว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า Welcome Page โดยปกติข้อความและรูปภาพที่ปรากฏอยู่ในเว็บเพจนี้มักจะทำหน้าที่คล้ายสารบัญของหนังสือ ซึ่งจะบอกให้ทราบว่าภายในเว็บไซต์นั้นมีอะไรอยู่ข้างในบ้าง
                              โปรแกรมบราวเซอร์ค้นหาเว็บไซต์จากชื่อ ยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator; URL) ซึ่งเป็นการบอกที่อยู่ของแฟ้มข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตผ่านผู้ให้บริการบนเว็บ (World Wide Web) แฟ้มข้อมูลนี้อาจอยู่ในรูป HTML ภาพกราฟิก โปรแกรมที่เขียนด้วยวาจา หรือรูปแบบใด ๆ ที่สามารถทำงานร่วมกับโพรโทคอลเว็บเรียกว่า เอชทีทีพี (Hyper Text Transfer Protocol; HTTP) ได้



http://www.dcs.cmru.ac.th/lesson9_5.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น