วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อดีและข้อจำกัด,การประยุกต์ใช้และชื่อหมายเลขในเครือข่าย

                 อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารสารสนเทศ เปรียบเสมือนชุมชนแห่งใหม่ของโลก ซึ่งรวมคนทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน จึงทำให้มีบริการต่างๆ เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีทั้งข้อดีที่เป็นประโยชน์และข้อจำกัดบางประการ   ดังนี้

ข้อดีของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลาย   ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากมาย ดังต่อไปนี้
  1. ค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ฯลฯ ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
  2. ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างๆ อยู่ รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆ ได้ฟรีโดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบด้วย
  3. รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณียากร ถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเหมือนการส่งจดหมาย การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย
  4. สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียง
  5. ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้นๆ
  6. ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพ และเสียงจากที่อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ได้จากแหล่งที่มีผู้ให้บริการ
  7. ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งบริการต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้างสรรพสินค้า
  8. ให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ   เช่น  การฟังเพลง รายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมไปถึงการแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก  
  9. ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง
  10. ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน
ข้อจำกัดของอินเทอร์เน็ต

ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้มากมาย   แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ   ดังต่อไปนี้
  1. อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนจึงสามารถสร้างเว็บไซด์หรือติดประกาศข้อความได้ทุกเรื่อง บางครั้งข้อความนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรับรอง เช่น ข้อมูลด้านการแพทย์หรือผลการทดลองต่างๆ จึงเป็นวิจารณญาณของผู้อ่านที่จะต้องไตร่ตรองข้อความที่อ่านนั้นด้วยว่าควรจะเชื่อถือได้หรือไม่
  2. นักเรียนและเยาวชนอาจติดต่อเข้าไปในเว็บไซด์ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจยั่วยุอารมณ์ ทำให้เป็นอันตรายตัวตัวเองและสังคม
http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page24.htm

การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลกจึงมีผู้ใช้จำนวนมากเพราะการเชื่อมโยงของอินเตอร์ทำให้โลกไร้พรหมแดน  ข้อมูลข่าวสารจะติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็วได้มีการประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตกับงานอื่น ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา
                                1.  Electronic  mail  หรือ  E-mail  เป็นการส่งข้อความติดต่อกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล    ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับการส่งจดหมายถึงกัน  แต่ปัจจุบันการส่งไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์จะส่งเป็นรูปของตัวเลขหรือระบบดิจิตอล   จึงสามารถส่งรูป
ภาพ
  เสียง  และภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย
                                2.  File  Transfer  Protocol    หรือ    FTP      เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน         ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างสถานีและนำไปใช้ประโยชน์ได้       เช่น        โปรแกรม  cuteFTP   โปรแกรม  wsFTP  เป็นต้น
                                3.  Telnet  การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย       ทำให้ติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการที่อยู่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม       เช่น  การส่งโปรแกรมหรือข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างประเทศผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
                                4.  Search  engine  ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้งานจำนวนมาก  ฐานข้อมูลแต่ละอย่างอาจจะเก็บในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นสิ่งพิมพ์  รูปภาพ  ผู้ใช้สามารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์  ฐานข้อมูลเป็นเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาได้  ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า World  Wide  Web  หรือ  www  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงทั่วโลก
                                5.  USENET    การอ่านจากกลุ่มข่าวในอินเตอร์เน็ตจะมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ    แยกตามความสนใจ    ซึ่งสามารถส่งข้อความไปได้และผู้ใช้สามารถเขียนโต้ตอบได้
                                6.  Chat   การสนทนาบนเครือข่าย        เมื่ออินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกันทั่วโลกผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้โดยการสนทนากันด้วยตัวหนังสือผ่านทางจอภาพ     ปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าที่มองเห็นหน้ากันด้วย
                                7.  การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย  เป็นการประยุกต์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น  มีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเตอร์หลายร้อยสถานี   และยังมีการส่งกระจายภาพวีดิทัศน์บนเครือข่ายได้ด้วย แต่ยังส่งข้อมูลจำนวนมากไม่ได้
                                8.  การบริการบนอินเตอร์เน็ต  ปัจจุบันมีมากมายเช่น  การเผยแพร่ข่าวสาร    ความรู้  การซื้อขายสินค้า การทำธุรกิจอิเลคทรอนิกส์  การช่วยสอน และอื่น ๆ ที่ผู้ใช้โต้ตอบได้

http://a.1asphost.com/chalin623/drinking48/internet/net3.htm


ชื่อและหมายเลขประจำเครื่องในเครือข่าย

IP Address คือ

หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น
กำหนดให้ ip address (เป็นหมายเลข 3 หลัก 4 กลุ่ม) มีทั้งหมด 32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ระบบหมายเลขประจำเครื่องมีข้อบกพร่องคือ จำยากและไม่ได้สื่อความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ทราบ ดังนั้น จึงมีการใช้ระบบชื่อของเครื่อง (Domain Name System : DNS) ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนหมายเลข IP Address มาเป็นชื่อที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจกัน
เช่น
Moe.go.th
udru.ac.th
microsoft.com




Domain Name System : DNS

การเชื่อมต่อสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ในระบบ internet นั้นใช้มาตรฐาน TCP/ IP ที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องมีหมายเลข IP Address ไม่ซ้ำกัน ซึ่งใช้ เวลาติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยจะอ้างถึงหมายเลขประจำตัวเครื่องปลายทางที่เราติดต่อได้ทันที โดยปกติเครื่อง Web Server จะมี IP Address ทั้งนี้เกิดปัญหาในการจำ เพราะว่า IP Address มีตัวเลขถึง 12 ตัว จากจุดนี้เลยได้มีการคิดที่จะแปลง IP Address ให้เป็นชื่อที่จำได้ง่าย Domain Name System จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อใช้ชื่อแทนที่หมายเลข IP ฉะนั้น DNS คือระบบการแปลงค่าระหว่าง IP Address และชื่อเครื่อง(Host) เช่น IP Address "172.5.0.1" เรียกเป็น "www.udru.ac.th" (เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี)

การกำหนดชื่อใน DNS จะเรียงลำดับความสำคัญจากขวาไปซ้าย โดยมีจุดคั่น เช่น Udru.ac.th จะอ่านได้ว่า th มาจากประเทศไทย, ac หน่วยงานการศึกษา, udru ชื่อหน่วยงานในที่นี้คือ มรภ.อุดรธานี



รูปแบบชื่อโดเมน มี 3 รูปแบบใหญ่ ๆ

1. โดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain ชื่อทางด้านขวาสุดแบ่งย่อยเป็น 2 รูปแบบ คือ
- รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล (General Internet DNS Top Level Domains : gTLDs) เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กันโดยเฉพาะในอเมริกาซึ่งลงท้ายด้วย .com .net .org .biz .info เป็นต้น

- รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแต่ละประเทศ(Country Code top Level Domains : ccTLDs) บ่งบอกถึงประเทศเจ้าของโดเมนหรือที่ตั้งโดเมนมักใช้กับประเทศอื่นยกเว้นอเมริกา เช่น .th ประเทศไทย, .jp ประเทศญี่ปุ่น, .uk ประเทศอังกฤษ เป็นต้น

.au = Australia
.sg = Singapore
.th = Thailand
.tw = taiwan
.uk = United Kingdom
.jp = Japan



2. โดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domain เป็นชื่อถัดมาลำดับที่ 2 จะเป็นลักษณะการดำเนินงานขององค์กร แบ่งเป็น 2 ส่วน

-ลักษณะการดำเนินงานขององค์กรในประเทศไทย เช่น

.co = Commercial หน่วยงานทางธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน
.ac = Academic หน่วยงานสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
.go = Government หน่วยงานของรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม
.or = Organization หน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
.mi = Military หน่วยงานด้านความมั่นคง (ทหาร)
.net = Network หน่วยงานที่ให้บริการทางด้านเครือข่ายสื่อสาร
.in = Individual เว็บไซต์ส่วนบุคคล


- ลักษณะการดำเนินงานขององค์กร ยกเว้นประเทศไทย เช่น

.com = Commercial หน่วยงานทางธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน
.edu = Education หน่วยงานสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
.gov = Government หน่วยงานของรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม
.org = Organization หน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
.mil = Military หน่วยงานด้านความมั่นคง (ทหาร)
.net = Network หน่วยงานที่ให้บริการทางด้านเครือข่ายสื่อสาร



3. โดเมนขั้นที่สาม - Third Level Domain เป็นลำดับที่ 3 นับจากด้านขวามือ เป็นชื่อที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถจดจำได้
เช่น
udru = มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Microsoft = บริษัทไมโครซอฟต์
moe = กระทรวงศึกษาะการ


 http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=01-04-2009&group=11&gblog=3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น